วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กรณีไหนบ้านเราถึงต้องใช้เสาเข็มเจาะ

      ต่อเนื่องจากบทก่อนที่ค้างไว้ว่าจะพูดเรื่องเสาเข็มเจาะต่อ คำถามก็คือ กรณีไหนบ้านเราถึงต้องใช้เสาเข็มเจาะกัน ( เพราะค่่าใช้จ่ายมากกว่าเป็นเท่าตัว)
     คำตอบก็คือ ถ้าที่ดินบ้านเรามีเพื่อนบ้านโดยรอบหมด คือมีบ้านรอบๆ ละก้อ สมควรที่จะต้องใช้เสาเข็มเจาะ เพราะถ้าใช้วิธีตอก ผนังบ้านข้างคงแตกร้าว หนักๆ หน่อยอาจะมีทรุดเอียงเนื่องเวลาตอกจะกระเทือนรุนแรงมาก ซึ่งจะต้องเสียตังค่าซ่อมอีกเยอะ เดี๋ยวจะมองหน้ากันไม่ติดตั้งแต่ยังไม่ย้ายมาอยู่
     อีกกรณีนึงที่ต้องใช้คือถ้าบ้านใหญ่โต รับน้ำหนักเยอะ หรือชั้นดินแข็งอยู่ลึกมากๆ (เกิน 30 ม.) อันนี้ก้อต้องใช้เพราะเข็มตอกที่ความยาวมากขึ้นก้อต้องต่อหลายท่อน เนื่องจากข้อจำกัดเวลาขนส่ง และอีกอย่างส่วนใหญ่ต่อกันแค่ 2 ท่อนก็เสี่ยงแล้วถ้าเกิดต้องต่อ 3 ท่อนยิ่งมีโอกาสที่เข็มจะหักกลางหรือเอียงเวลาตอก

รูปสามเกลอที่ใช้ในการทำเสาเข็มเจาะ
     ขั้นตอนงานตรวจสอบเสาเข็มส่วนใหญ่ ควรที่จะให้มีวิศวกรดูแลหน้างานครับเพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่หลักๆ ก็มี 2 - 3 อย่างคือ ความลึกที่ขุดดินถึงชั้นทรายหรือไม่ ระยะห่างหลุมเจาะข้างๆ ต้องห่างกันเพราะจะทำให้หลุมที่เพิ่งเทปูนไปพัง ปริมาณปูนที่ใช้ถ้าดกิดใช้มากกว่าที่คิดไว้หลุมที่ขุดอาจจะพัง ซึ่งฟังดูแล้วปวดหัวเลยสำหรับคนธรรมดาที่ไม่รู้เรื่องงานก่อสร้าง เพราะฉะนั้นอย่าเสียน้อยเสียยากครับ ลงทุนจ้างวิศวกรที่ไว้ใจได้ มาช่วยดูนึดนึง
เครื่องทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม

     หลังจากเจาะเสาเข็มเสร็จทิ้งไว้ซักเดือนนึงก็เริ่มขุดดินทำฐานรากได้ คราวนี้ก็ต้องเสียตังเพิ่มอีกนิดเพื่อความสบายใจต้องเช็คดูอีกทีว่าเสาเข็มเจาะสมบูรณ์หรือไม่ ปูนเทเต็มมะ ตรงไหนจะมีปัญหา ต้องทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ( Siesmic test ) อย่างที่เห็นในรูปข้างบน เค้าใช้วิธีการเดินทางของเสียงมาเช็ค โดยเคาะที่หัวเสาเข็มแล้วฟังเสียงสะท้อน หลักการคือถ้าความหนาแน่นสม่ำเสมอ คลื่นเสียงก็จะเป็นรูปปกติ แต่ถ้าเข็มเทไม่เต็มกราฟคลื่นเสียงก็จะผิดรูปไป อัันนี้บริษัทที่มาทดสอบเค้าไม่มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะรายงานตามความเป็นจริง ถ้าเข็มมีปัญหาก็ต้องเจาะเพิ่ม ขยายขนาดฐานรากก็ว่ากันไป

     ค่าทดสอบส่วนใหญ่ขึ้นกับจำนวน ถ้าไม่มากก็ต้นละ 200 - 300 บาทกี่ต้นก้อคูณไป ต้องยอมครับถ้ามีปัญหาแก้ก่อนดีกว่าสร้างเสร็จแล้วบ้านทรุดละก้อจะมาพูดว่า " รู้งี้ยอมเสียตังเพิ่มดีฝ่า "

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More