This is default featured post 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured post 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured post 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured post 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured post 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บริษัทกำจัดปลวก

     บ้านที่เราสร้างเองหรือแม้กระทั่งซื้อสำเร็จ คงไม่อยากให้มีปัญหากวนใจ โดยเฉพาะเรื่องปลวก(แดก)

     ก็ต้องว่ากันตั้งแต่ช่วงงานก่อสร้างในขั้นเทคานชั้น 1 แล้วเสร็จ บางบ้านเทพื้นปูนทั้งหมด บางบ้านใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปวางบนคานแล้วค่อยเทปูนทับหน้าก็ว่ากันไป แต่ก่อนที่จะปิดพื้นดินใต้บ้านนั้น จะต้องทำระบบป้องกันปลวกก่อน สมัยก่อนนั้นก็แค่ฉีดเชลล์ไดรท์แล้วก็ลืมกันไป ได้แต่ภาวนาอย่าให้ปลวกกิน สมัยนี้นิยมทำระบบป้องกันปลวกแบบระบบท่อ คือสามารถกลับมาอัดน้ำยากันปลวกได้อีกทุกๆ 6 เดือนหรือแล้วแต่ละมาตรฐานแต่ละบริษัท 

ภาพงานเดินท่อน้ำยารอบคานชั้น 1 

     วิธีการก็คือเดินท่อน้ำยารอบคานภายในระหว่างพื้นแต่ละช่องๆ ให้หมดทั้งชั้น 1 ไม่เว้นแม้กระทั้งห้องน้ำ บางเจ้าจะไม่เดินท่อในห้องน้ำ ขอเน้นว่าต้องทุกพื้นที่ เพราะมันมาจากดินข้างล่าง โดยต้องเดินท่อสูงขึ้นมาประมาณใต้ท้องพื้นเพราะเวลาอัดฉีดน้ำยาจะได้กระจายได้พื้นที่กว้าง ครอบคลุมหมด (ดูภาพประกอบ) และเมื่อเดินท่อเสร็จเค้าจะพ่นน้ำยา 1 รอบ จากนั้นเราก็เทพื้น สร้างบ้านต่อจนเสร็จ บริษัทก็จะเข้ามาอัดฉีดน้ำยาอีก 1 รอบ พร้อมกับพ่นน้ำยารอบๆ ตัวบ้านด้วย หลังจากนั้นจะมาอัดฉีด ทุกๆ 3 หรือ 6 เดือน ต้องไม่ลืมขอใบรับประกันจากบริษัทกำจัดปลวกด้วย

     แถม Tips เล็กน้อย ข้อแรกแบบไม้ที่ใช้หล่อคานชั้น 1 จะต้องเอาออกให้หมด เพราะเป็นตัวล่อปลวก ข้อ 2 ไม่จำเป็นจะต้องถมดินสูงจนถึงท้องพื้น เอาแค่ทำคันดินเป็น Support รับพื้นสำเร็จรูปก็พอ เวลาอัดน้ำยาจะได้กระจายเต็มพื้นที่ ข้อ 3 ช่างบางที่มักจะเอาไม้หน้าสามทำตงรับแผ่นพื้น อันนี้ก็ล่อปลวกเช่นกัน 

     ก็ขอให้มีความสุขกับบ้านของคุณครับ




วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฐานรากบ้าน ฐานรากชีวิต

     ในชีวิตนึงคุณจะมีบ้านเป็นของตัวเองซักกี่หลัง คนธรรมดาอย่างเราๆ จะมีบ้านซักหลังก็เต็มกลืนแล้ว ยิ่งสร้างบ้านเอง ไม่ใช่ไปซื้อสำเร็จ ก็ต้องใส่ใจในคุณภาพซักนี้ด
     ถ้าเสาเข็มสำคัญเป็นอันดับหนึ่งละก้อ รองลงมาก็ต้องฐานรากบ้านนี้แหละ เวลาขุดดินจะทำฐานราก ก็ต้องมาเช็คว่าเข็มที่ตอกไปได้ตรงตำแหน่งที่ระบุรึป่าว ถ้าไม่ ก็ต้องมีการปรับแก้แนวบ้านใหม่ อันนี้คนทั่วไปมักจะไม่รู้ พอไม่รู้ก้อเลยไม่ได้เช็ค เอาง่ายๆ ถ้าเช็คแนวบ้านทั้งแกน x และ y แล้วพบว่ามีระยะเยื้องออกจากตำแหน่งไม่เกิน 1/6 ของขนาดเข็ม (ถ้าเสาเข็ม ขนาด 22 ซม. หาร 6 ก้อเยื้องได้ 3.67 ซม.) ถ้าเกินก็ต้องมาปรับแก้จะย้ายแนวหรือขยายฐานรากก็ต้องวิดวะเค้าดูให้

ตัดหัวเข็มให้ได้ระดับแล้วเช็คค่าเยื้องศูนย์ของเข็ม
ป้ายทีติดมากับมัดเหล็กเส้น
     จากนั้นก็ผูกเหล็กเข้าแบบเทปูน การเข้าแบบก็ต้องใช้แบบเหล็ก ถ้าแบบไม้ก้อโอ แต่ต้องรดน้ำที่แบบก่อนเทเอาให้ชุ่ม ไม่งั้นแบบไม้จะไปดูดน้ำปูนหมด เสร็จเลยฐานรากเป็นปลวกกินแน่ และหเามเลยคือขุดหลุมเอาดินเป็นแบบหรือใช้อิฐก่อเป็นแบบเหตุผลเดียวกับแบบไม้ เหล็กเสริมก็ต้องเช็คดูว่าเป็นเหล็กเต็มรึป่าว(บางทีไปเอาเหล็กเกรดบี หรือเหล็กโรงเล็กที่น้ำหนักไม่เต็มมาใช้เพื่อประหยัด) เน้นว่าใช้เหล็กโรงใหญ่มี มอก. ดีกว่า จากนั้นก็เช็คขนาดและจำนวนเหล็กเสริมว่าครบตามแบบรึป่าว เสร็จแว้วก็เทปูนกันเลย

     ขอเน้นว่าใช้ปูนมิกซ์จากโรงงานดีกว่าผสมมือครับ เดี๋ยวนี้สบายมีรถโฒ่เล็ก 2 - 3 คิว ก็สั่งกันได้ พอปูนมาก้อเช็คว่าตรงตามสเปคมะ ถ้าโอก้อเทปูนได้เรยย ระหว่างเทปูนก้อต้องคอยใช้เครื่องจี้คอนกรีตเป็นระยะๆ เพื่อให้ปูนแน่น ถ้าไม่จี้ปริมาณปูนที่อาจจะใช้ต่างกันเกือบ 20 % เลยทีเดียว (ผู้รับเหมาประหยัดค่าปูน) เทปูนเสร็จทิ้งไว้ซัก 2 วันค่อยแกะแบบออก  อ้อ ! อย่าลืมบ่มปูนด้วยการราดน้ำที่ฐานรากด้วยนะ ปูนจะได้เข้มแข็ง

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทาสีหน้าฝน

     วันนี้ขอข้ามชอตหน่อย มาเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพอากาศปัจจุบันกันหน่อย นั้นก็คือเรื่องทาสี ซึ่งมีปัญหาเสมอในช่วงหน้าฝน

     ว่ากันตั้งแต่เรื่องเตรียมผิวกันเลย หนึ่งคือต้องไม่มีฝุ่น สองไม่ชื้น เพราะทาไปสีก้อร่อน อย่าทาดีกว่าเสียตัง 2 เที่ยวแถมเสีย'รม อีก จากนั้นมาทาสีรองพื้นกันถ้าผิวดีไม่มีฝุ่น ไม่ชื้น แดดออกซัก 2 - 3 วัน ก้อรีบเลยทาสีรองพื้นไว้ก่อน เพราะถ้าฝนตกลงมาอีกก้อต้องรอแห้งอีก และอีกอย่างถ้าเราทาสีรองพื้นไปแล้วมันจะช่วยกันไม่ให้ผนังอิฐเราชื้นมากเพราะไปเคลือบเอาไว้ชั้นนึงแล้ว อ้อแล้วอีกอย่างสีมีหลายเกรด จะนาโน เช็ดกันกี่ครั้ง จะยูวี อะไรก็ตามแต่ ถ้าคุณเลือสีรองพื้นห่วยก็จบ ต่อให้สีทับหน้าดีแค่ไหนก็จบข่าวครับ ทางที่ดีเลือกสีรองพื้นยี่ห้อเดียวกันนั่นแหละ จะได้ไม่ต้องมาบอกว่า " รู้งี้ " ทีหลัง


  แล้วถ้าผนังบริเวณนั้นต้องโดนความชื้นบ่อยหรือฝนสาดหรือไม่ค่อยโดนแดด อับชื้น โดยเฉพาะผนังภายนอกรอบตัวบ้านที่ฝนมักจะกระเด็นมาโดนบ้าน ก็ลงทุนซื้อสีรองพื้นกันเชื้อรา ตะไคร่น้ำ ทาสูงขึ้นมาจากพื้นดินซัก 60 - 100 ซม. จะช่วยให้สีไม่ลอกร่อน เพราะเจอฝนเดียวก้อร่อนแล้ว

สีบวมพองและสีลอกร่อน
     
     แถมเคล็ดอีกนิดประตูไม้ภายนอกที่ต้องเจอกะฝนลแะลมอยู่บ่อยๆ จะต้องทาสีรองพื้นที่สันบานประตูทั้ง 4 ด้านนะเพราะส่วนใหญ่จะทากันแค่ 3 ด้าน แล้วเจอลมฝนเข้าไปซักแป๊ป บานประตูก็จะอวดเบ่งกะเรา คราวนี้ก้อไม่ต้องใช้ประตูกันละครับพี่น้อง


วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กรณีไหนบ้านเราถึงต้องใช้เสาเข็มเจาะ

      ต่อเนื่องจากบทก่อนที่ค้างไว้ว่าจะพูดเรื่องเสาเข็มเจาะต่อ คำถามก็คือ กรณีไหนบ้านเราถึงต้องใช้เสาเข็มเจาะกัน ( เพราะค่่าใช้จ่ายมากกว่าเป็นเท่าตัว)
     คำตอบก็คือ ถ้าที่ดินบ้านเรามีเพื่อนบ้านโดยรอบหมด คือมีบ้านรอบๆ ละก้อ สมควรที่จะต้องใช้เสาเข็มเจาะ เพราะถ้าใช้วิธีตอก ผนังบ้านข้างคงแตกร้าว หนักๆ หน่อยอาจะมีทรุดเอียงเนื่องเวลาตอกจะกระเทือนรุนแรงมาก ซึ่งจะต้องเสียตังค่าซ่อมอีกเยอะ เดี๋ยวจะมองหน้ากันไม่ติดตั้งแต่ยังไม่ย้ายมาอยู่
     อีกกรณีนึงที่ต้องใช้คือถ้าบ้านใหญ่โต รับน้ำหนักเยอะ หรือชั้นดินแข็งอยู่ลึกมากๆ (เกิน 30 ม.) อันนี้ก้อต้องใช้เพราะเข็มตอกที่ความยาวมากขึ้นก้อต้องต่อหลายท่อน เนื่องจากข้อจำกัดเวลาขนส่ง และอีกอย่างส่วนใหญ่ต่อกันแค่ 2 ท่อนก็เสี่ยงแล้วถ้าเกิดต้องต่อ 3 ท่อนยิ่งมีโอกาสที่เข็มจะหักกลางหรือเอียงเวลาตอก

รูปสามเกลอที่ใช้ในการทำเสาเข็มเจาะ
     ขั้นตอนงานตรวจสอบเสาเข็มส่วนใหญ่ ควรที่จะให้มีวิศวกรดูแลหน้างานครับเพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่หลักๆ ก็มี 2 - 3 อย่างคือ ความลึกที่ขุดดินถึงชั้นทรายหรือไม่ ระยะห่างหลุมเจาะข้างๆ ต้องห่างกันเพราะจะทำให้หลุมที่เพิ่งเทปูนไปพัง ปริมาณปูนที่ใช้ถ้าดกิดใช้มากกว่าที่คิดไว้หลุมที่ขุดอาจจะพัง ซึ่งฟังดูแล้วปวดหัวเลยสำหรับคนธรรมดาที่ไม่รู้เรื่องงานก่อสร้าง เพราะฉะนั้นอย่าเสียน้อยเสียยากครับ ลงทุนจ้างวิศวกรที่ไว้ใจได้ มาช่วยดูนึดนึง
เครื่องทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม

     หลังจากเจาะเสาเข็มเสร็จทิ้งไว้ซักเดือนนึงก็เริ่มขุดดินทำฐานรากได้ คราวนี้ก็ต้องเสียตังเพิ่มอีกนิดเพื่อความสบายใจต้องเช็คดูอีกทีว่าเสาเข็มเจาะสมบูรณ์หรือไม่ ปูนเทเต็มมะ ตรงไหนจะมีปัญหา ต้องทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ( Siesmic test ) อย่างที่เห็นในรูปข้างบน เค้าใช้วิธีการเดินทางของเสียงมาเช็ค โดยเคาะที่หัวเสาเข็มแล้วฟังเสียงสะท้อน หลักการคือถ้าความหนาแน่นสม่ำเสมอ คลื่นเสียงก็จะเป็นรูปปกติ แต่ถ้าเข็มเทไม่เต็มกราฟคลื่นเสียงก็จะผิดรูปไป อัันนี้บริษัทที่มาทดสอบเค้าไม่มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะรายงานตามความเป็นจริง ถ้าเข็มมีปัญหาก็ต้องเจาะเพิ่ม ขยายขนาดฐานรากก็ว่ากันไป

     ค่าทดสอบส่วนใหญ่ขึ้นกับจำนวน ถ้าไม่มากก็ต้นละ 200 - 300 บาทกี่ต้นก้อคูณไป ต้องยอมครับถ้ามีปัญหาแก้ก่อนดีกว่าสร้างเสร็จแล้วบ้านทรุดละก้อจะมาพูดว่า " รู้งี้ยอมเสียตังเพิ่มดีฝ่า "

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บ้านในฝัน



     สวัสดีครับพี่น้อง วันนี้มาในรูปแบบใหม่บล็อกนี้จะพูดคุยกันในเรื่องงานก่อสร้างโดยอาจจะเน้นเรื่องบ้านเป็นพิเศษเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวของเราทุกคน มีปัญหาเรื่องแสดงความคิดเห็นกันเข้ามาได้ครับ

     วันนี้ก็จะเริ่มกันที่ใต้ดินก่อนเลยครับ สำคัญที่สุดและมักจะถูกละเลยมากที่สุด ด้วยเพราะอาจจะไม่มีความรู้เรื่องงานก่อสร้างอะไรก็แล้วแต่ บ้านจะอยู่กับเรานานแค่ไหนโดยไม่พังหรือทรุด เอียง ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้แหละ


เสาเข็มชนิดต่างๆ

     หลังจากได้แบบบ้าน ได้ผู้รับเหมาแล้ว ก็มาดูเรื่องแบบก่อสร้างว่าระบุเสาเข็มบ้านขนาดและความยาวเท่าไหร่ ระดับตัดหัวเสาเข็ม
     มาถึงก็ต้องวางผังเสาเข็มให้ตรงตามแบบบ้านซะก่อน โดยเน้นเรื่องระยะร่นของบ้านส่วนใหญ่ก็ 2 ม. ถ้าที่อยู่ริมคลองก็ต้องร่นเข้ามา 6 ม. ต่อมางานตอกเสาเข็มสำคัญจริงๆ นะ เสาเข็มเข้าก็ต้องเช็คว่ามีรอยแตก ถ้ามีก็ต้องไม่รับ การวางกองเก็บก็ต้องวางให้ถูกวิธีไม่งั้นก็เข็มแตกอีก อ้อแล้วก็ต้องดูวันที่หล่อเสาเข็มด้วยอย่างน้อยเสาเข็มต้องมีอายุ 7 วันถึงจะตอกได้ ถ้ามาส่งเสาเข็มเห็นสีออกเขียวๆ ละก้อ ต้องรออีกซัก 2 - 3 วันค่อยเอามาตอก(บางที่โกงอายุปั๊มวันที่หลอกก็มี) ต่อมาการตอก เอากันตั้งแต่ลากเข็มจากจุดที่กองก็ต้องดูว่าลากเข็มมาแล้วเสียหายแตกตรงไหนรึเปล่า เช็คแนวที่วางหมุดเสาเข็มให้ตรง แล้วก็เริ่มตอก โดยส่วนมากโรงงานเสาเข็มจะมีรายการคำนวณมาให้ดู ไม่ต้องกังวลดูแค่ 2 อย่างคือ จำนวน Blow count และความยาวเสาเข็มที่ตอกลงไป เสาเข็มทุกต้นจะต้องมีรายงานจากผู้ควบคุมงาน
 
ขนาด ความยาว และวันที่ผลิตเสาเข็ม

     ถ้าเสาเข็มต้องต่อสองท่อนก็ต้องเช็คแผ่นเหล็กที่ปลายเสาเข็มว่าติดตั้งแน่นหนาดีรึเปล่า จากนั้นตอนเชื่อมแผ่นเหล็กก็ต้องเชื่อมตลอดโดยรอบเสาเข็ม(ห้ามเชื่อมเป็นจุดๆ)
เสาเข็มต่อต้องเชื่อมแผ่นเหล็กโดยรอบ
     พอตอกใกล้เสร็จก็จะต้องดู Blow count ตามที่บอกไว้ คือระยะ 30 ซม.สุดท้ายที่ตอกจะต้องตอกได้กี่ครั้ง หากไม่ได้ก็ต้องตอกต่อไปจนกว่าจะได้ หากไม่ได้แสดงว่าเข็มยังยาวไม่พอจนถึงชั้นดินแข็ง ก็ต้องเลือกเอาว่าจะเอาความยาวหรือจะเอา Blow count (แต่แนะนำว่าเอา Blow ดีกว่า เสียตังเพิ่มความยาวเข็มอีกไม่กี่บาทแต่บ้านไม่ค่อยทรุด) พอได้ก็ย้ายแนวไปตอกต้นอื่นต่อ

     สำหรับงานเสาเข็มเจาะจะขอยกยอดไปครั้งหน้าละกัน เม้นท์กันมาได้

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More