This is default featured post 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured post 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured post 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured post 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured post 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การป้องกันบ้านจากน้ำท่วม

ผมเป็นคนปริมณฑลครับ กำลังรับมือกับน้ำท่วมที่กำลังจะมาถึงเช่นกัน ช่วงนี้มีแต่ความตื่นตระหนกกับภัยธรรมชาติที่กำลังจะมา(บางคนบอกเป็นภัยอันเนื่องมาจากการบริหารจัดการ) อย่างไรก็ตาม วันนี้จะมาว่าด้วยเรื่องการป้องกันน้ำท่วมเท่าที่เราพอจะหาได้ เพราะตอนนี้วัสดุขาดแคลนมาก อิฐ หิน ปูน ทราย ขาดตลาด ถ้ามีก็ราคาพุ่งไปกว่าเท่าตัว

1. ตรวจสอบระดับพื้นที่ที่บ้านของท่านอยู่ซะก่อนว่าสูงหรือต่ำกว่าระดับคันกันน้ำเท่าไหร่
2. เมื่อรู้แล้วว่าน้ำจะท่วมซักเท่าไหร่ถ้าน้ำมามากว่าคันกันน้ำ ก็ย้ายของขึ้นชั้นบน สำหรับคนบ้านชั้นเดียวคงต้องบอกว่าหาที่อยู่ใหม่จะดีกว่าครับ
3. หาวัสดุมากั้นประตู หน้าต่าง ทางที่น้ำจะเข้า ตอนนี้คงต้องใช้พวก Future board หรือ Viva board แล้วครับเพราะของพวกนี้ยังไม่ขาดตลาดเอามากั้นทางเข้าบ้าน พร้อมกับ Seal silicone ชนิดภายนอก(กันน้ำได้) มีมากมายหลายยี่ห้อ ลองไปดูกัน
4. ตรวสอบท่อน้ำทิ้งภายในบ้าน หากระสอบทราย(จะหาได้มั๊ยเนี่ย) มาอุดท่อไว้ หากว่าอุดไม่อยู่ ลองไปเปิดฝาท่อระบายน้ำหน้าบ้านครับ พอน้ำมาก็ยัดลงไปที่ท่อน้ำบ้านเราก่อนที่จะลงบ่อพักหน้าบ้านครับ
 ส่วนชักโครกชั้นล่างก็เอาเชือกพันฝาปิดให้เรียบร้อย
5. ตรวจสอบวงจรไฟฟ้า ถ้าโชคดีตอนสร้างบ้านแยกวงจรชั้น 1 ชั้น 2 ยิ่งดีจะได้ตัดวงจรที่น้ำท่วมถึงได้ ถ้าไม่ได้แยกก็ต้องตัดใจสับคัทเอาท์ใหญ่ออก ป้องกันไฟฟ้าดูด
6. เตรียมเสบียงให้พร้อม ของแห้งทั้งหลาย ประมาณ 1 เดือน แก๊สหุงต้ม ถ่าน เครื่องครัวที่ย้ายมาชั้นบน

ขอให้โชคดีครับ

ครั้งหน้าจะมาว่ากันด้วยซ่อมบ้านหลังน้ำท่วมครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Minimalism condo 24 ตร.ม.

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ถมดินยังไง ไม่เสียรู้

ขอย้อนไปตอนเริ่มต้นหน่อย ว่าด้วยเรื่องการถมดิน มีข้อควรระวังยังงัยบ้าง

1. ตอนตกลงกับผู้รับเหมาถมดิน ใช้ดินอะไร ส่วนมากมักจะเอาหน้าดินมาถมกรณีที่ที่เดิมไม่ได้ต่ำกว่าถนนมากนัก แต่ถ้าเป็นบ่อมาก่อนก็เอาดินลูกรังมาถมก่อนพอเหลือซัก 50 ซม. ก่อนถึงระดับที่กำหนดค่อยเอาดหน้าดินมาถม ไม่งั้นจะปลูกต้นไม้ไม่ได้
 - ขอบเขตการถมถ้าที่ข้างเคียงว่าง จะถมดินให้ชายขอบดินถมจะเลยหรือไม่ก็ต้องตกลงกะที่ข้างเคียงก่อน
 - ส่วนใหญ่ราคาจะเหมา เพราะเจ้าของคงไม่มีเวลามานับเที่ยวหรือวัดปริมาณ(ถ้ามีคนดูก้อโอนะ) เวลาคิดปริมาณถมดินก้อเอา ก x ย x ส แล้วเผืื่่ออีก 30% การยุบตัวและบดอัด

2. ก่อนถมถ้ามีวัชพืชก้อต้องเอาออกให้หมดก่อน  สำคัญมากนะ เพราะจะทำให้ดินทรุดมากขึ้นเวลาพวกนี้ย่อยสลาย ถ้ามีดินเลนก้อต้องตักออกเพราะดินบ้านเราจะเหมือนเยลลี่ ไม่แน่นทำให้ถนนในบ้านแตกทรุด

3. ถ้ามีน้ำท่วมขังต้องสูบออกให้หมดก่อน อย่าถมไล่น้ำ ไม่งั้นเละแน่

4. ถมเสร็จเช็คค่าระดับก่อนจ่ายตัง ค่าระดับส่วนใหญ่จะสูงกว่าถนนหน้าบ้านซัก50 ซม. โดยประมาณเผื่อน้ำท่วม หลวงใจดีตัดถนนใหม่สูงกว่าเดิม ถ้าให้ดีเอารถแบ็คโฮย่ำๆ ซักสองสามเที่ยวหน่อยก่อนเช็ค ถ้าให้ดีก้อบดอัดเลย (ส่วนใหญ่ไม่ค่อยยอมให้เพราะต้องเพิ่มดินให้เราอีก)

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รอยร้าวแบบไหนอันตราย

วันนี้ว่ากันง่ายๆ จะมาบอกวิธีสังเกตบ้านเราง่ายๆ ว่ารอยร้าวแบบไหนที่อาจเป็นอันตราย

เริ่มที่ผนังบ้าน ซึ่งมักจะเป็นรอยร้าวที่พบบ่อยที่สุด ถ้าร้าวเป็นเส้นเล็กๆ ไม่ต่อเนื่อง เคาะดูแล้วเสียงโปร่งๆ แสดงว่าเป็นการร้าวปูนฉาบ

รอยร้าวตามขอบวงกบประตูหน้าต่าง แสดงว่าอาจจะไม่ทำเสาเอ็น-ทับหลังรอบประตู อันนี้ต้องดูตั้งแต่ตอนก่ออิฐเลยทีเดียว

รอยร้าวข้างเสาแนวตั้ง ตอนก่ออิฐไม่ได้เสียบเหล็กหนวดกุ้งเชื่อมกับเสา

ข้างบนเป็นรอยร้าาวที่ไม่อันตรายต่อโครงสร้างเท่าไหร่ ต่อไปจะว่ากันถึงรอยร้าวที่ต้องแก้ไขโดยเร็วเพราะโครงสร้างอาจมีปัญหา

เสา คานหรือผนังบ้านมีรอยร้าวทแยง อาจเพราะบ้านทรุดตัวไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึง

ใต้ท้องพื้นมีรอยร้าวปูนกระเทาะออก พื้นอาจรับน้ำหนักมากเกินไป หรือเหล็กเสริมพื้นเกิดสนิมบวมดันให้ปูนกระเทาะออก(โดยเฉพาะพื้นระเบียงทั้งหลาย)

เท่าทีพบบ่อยๆ ก็มีแค่นี้ลองไปเอาแว่นขยายไปส่องกันเลย

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การแก้ไขบ้านทรุด

ภาคต่อมา เกิดแก้ไม่ทัน สมัยก่อนถ้าบ้านทรุดแตกพังก็ซ่อมตามสภาพหนักหน่อยก็ทุบทำใหม่ แต่ถ้าบ้านคุณทรุดแบบเป็น 10 ซม. แถมดันทรุดไม่เท่ากันอีก เอียงซะงั้น ถ้าไม่ทุบจะทำยังงัยดี

สมัยนี้เค้ามีการยกบ้านขึ้น ไม่ว่าจะด้วยกรณีบ้านทรุดหรือต้องการยกตัวบ้านเพราะอยู่มานานนม จนบ้านเมืองเค้าพัฒนาความเจริญมีมากขึ้นเลยใจดียกถนนให้สูงขึ้นอีก 50 ซม. อ้าวบ้านเราก้อเป็นแก้มลิงเลยดิอย่างนี้

ท่อเหล็กที่ทำเข็มและเหล็ก I มาทำฐาน
วิธีที่นิยมในการยกบ้านขึ้นคือ เสริมเข็มใหม่ไปเลย พูดง่ายๆ เสาเข็มฐานรากเดิม ไม่เอา ทำใหม่หมด หลายคนคงเกาหัวแกรกๆ ยังงัยวะ บ้านมันสร้างเสร็จแล้วจะมุดดินลงไปทำำยังงัย นั่นหละครับก็มุดดินลงไปทำจริงๆ  แต่จะเปิดขุดดินเฉพาะบริเวณฐานรากเดิมแล้วใช้ท่อเหล็กขนาดตั้งแต่ 4 " ยัน 8" ขึ้นอยู่กับน้ำหนักถ่ายลงฐานนั้นๆ แล้วก้อกดท่อลงไปจนถึงระดับความลึกที่ออกแบบไว้แล้วก้อกรอกปูนลงไปให้เต็มท่อ




เอาแม่แรงมาค้ำบ้านก่อนตัดฐานเดิม
จากนั้นก้อทำฐานรากใหม่เชื่อมกับคานชั้น 1 เดิม แต่ก่อนที่จะเชื่อมเค้าจะเอาแม่แรงไฮดรอลิกมาค้ำตามจำนวนฐานราก (ตามรูป) แล้วจึงตัดฐานรากเดิมออกจากคานซะก่อนแล้วก็ยกบ้านขึ้นพร้อมๆ กันโดยน้ำหนักจะถ่ายลง เหล็ก I ใต้แม่แรง พอยกบ้านขึ้นจนถึงระดับที่พอใจแล้วจึงดำเนินการเชื่อมต่อคานกับฐานอันใหม่ได้ เท่านี้เราก็ยังคงเก็บบ้านที่เราอุตส่าห์ซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรงและเต็มไปด้วยความทรงจำดีๆ ยังอยู่กับเราต่อไป(แอบซึ้งนิดนึง) สนนราคาขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนครับ 




วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ต่อเติมบ้านยังไงไม่ให้บ้านทรุด ?

     ร้อยทั้งร้อยครับ คนเราถ้าซื้อบ้านมาก็หาทางที่จะต่อเติมบ้าน จะเพิ่มหลังคาที่จอดรถมั่ง เพิ่มครัวหลังบ้านมั่ง ก็แล้วแต่ความต้องการและจินตนาการของท่านเจ้าของบ้านแต่ละท่าน เพราะไอ้ที่จะหาบ้านสำเร็จรูปที่ตรงกับความต้องการนั่นแทบไม่มี

     วันนี้เลยขอเอาใจคนมีบ้านแล้วหน่อย ขั้นแรกก็ต้องดูว่าต่อเติมอะไร ถ้าหลังคาที่จอดรถก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรเพราะไม่ได้รับน้ำหนักมาก(กรณีหลังคาลอนคู่โครงเป็นเหล็ก) แต่ถ้าต่อเติมครัวหลังบ้าน อันนี้ต้องดูกันหน่อย เพราะส่วนมากมักชอบไปฝากโครงสร้างที่ต่อเติมกับโครงสร้างบ้านเดิม นี่แหละต้นตอของปัญหาบ้านทรุดไม่เท่ากัน เพราะส่วนใหญ่จะใช้เข็มหกเหลี่ยม ยาว 6 ม. เท่านั้น ในขณะที่บ้านเดิมใช้เข็มยาว 21-23 ม. (ความยาวเข็มต้องดูบ้านข้างเคียงเค้าใช้กันเท่าไหร่ จะได้ไม่ต้องเสียตังเจาะทดสอบหาชั้นดิน)

เข็มยาวไม่เท่ากันแถมตอกทีหลังไม่ทรุดได้งัย
     หลักการข้อแรกก็คือ ต้องใช้เข็มยาวเท่ากับโครงสร้างเดิม เพราะแม้เข็มยาวเท่ากันตอกคนละช่วงเวลาก็ทรุดไม่เท่ากันเพราะเข็มตอกใหม่ๆ มีการทรุดตัวมากกว่าเข็มที่ตอกมานานแล้ว


พื้นต่อเติมใหม่ ควรเริ่มปูกระเบื้องตามรอยต่อ
ข้อสอง อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับโครงสร้างบ้านเดิมโดยเด็ดขาด ถ้าเป็นไปได้นะ อ้าวแล้วพี่จะให้ผมทำยังงัยละ ฝนตกบ้านไม่รั่วรึงัย เว้นโครงสร้างบ้านซัก 1 ซม.เวลาเทปูนเอาโฟมกั้นก้อเป็นใช้ได้ แล้วใช้ซิลิโคนชนิดที่ทนแดดทนฝนมาอุดช่องว่างระหว่างผนังแล้วก้อทาสีทับ ส่วนรอยต่อที่พื้นถ้าพื้นปูกระเบื้องต่อเนื่องจากบ้านเดิมก้อ กำหนดให้รอยต่อกระเบื้องเริ่มจากตรงนั้นแล้วปูไล่ออกไป(ดูรูปประกอบ) คือบังคับให้แตกตามรอยต่อที่เรากำหนดไว้ ไม่งั้นกระเบื้องพื้นจะแตก แก้เท่าไหร่ก็แตกวันยังค่ำ ถ้าทำแบบที่ว่า อย่างมากก็มายาแนวกระเบื้องใหม่ ง่ายกว่าเยอะ



     แล้วถ้าต่อเติมหลังบ้าน ขอแนะนำว่าอย่าไปฝากเสาไว้กับกำแพงรั้วโดยเด็ดขาด เด๋วจะหาว่าไม่เตือน หนึ่งคือ ถ้าเพื่อนบ้านโวยมาไม่รู้ด้วย สองคือ เข็มรั้วมันก้อเข็มยาว 6 ม.นั่นเอง(ผรม.บางเจ้าตัดเข็มที่ตอกยิ่งสั้นเข้าไปอีก) ทีนี้รั้วเอียงฟ้องร้องกันแย่

      เพราะจริงๆ แล้วตามกฏหมาย กำหนดว่าจะต้องเว้นที่ว่างจากตัวอาคารถึงแนวเขต(รั้วบ้าน) อย่างน้อย 50 ซม.ครับพี่น้องงงงง

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คอนกรีตผสมน้ำยากันซึม

ตัวอย่างน้ำยากันซึม
     ถามว่าคนทั่วไปจะรู้จักคอนกรีตผสมน้ำยากันซึมมะ ( Water proof agent )ผมว่าไม่ถึงครึ่ง ที่ไม่รู่ว่าจะต้องผสมน้ำยากันซึมลงในคอนกรีตด้วย โดยเฉพาะพื้นห้องน้ำ ระเบียงและดาดฟ้า

     จริงๆแล้วมันไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพราะ Plant คอนกรีตส่วนใหญ่ถ้าบอกเค้าว่าให้ผสมน้ำยากันซึมมาด้วยเค้าก้อจัดมาให้ ตอนรถคอนกรีตมาถึงก็เช็คตั๋วจากคนขับรถว่าระบุผสมน้ำยากันซึมมาด้วยรึป่าว อ้าว!!! แล้วคนที่เทปูนไปแล้วทำไงอ่ะ ใจเย็นครับมันมีทางแก้ไขอยู่ 

1. กรณีพื้นห้องน้ำถ้ายังไม่ได้ปรับปูนทราย ก็ให้ผสมน้ำยากันซึมลงในปูนทรายที่จะปรับระดับครับ แต่จะเอาให้ชัวร์ไปซื้อน้ำยากันซึมชนิดทา ทาบนพื้นแล้วพันมาถึงผนังห้องน้ำอีกซัก 10 ซม. ซัก 2 - 3 เที่ยว รับประกันยินดีคืนเงินว่าไม่รั่วซึมแน่นอน

2. กรณีดาดฟ้าหรือระเบียง ใช้น้ำยากันซึมแบบเดียวกับเคสข้างบน แต่เลือกชนิดทาภายนอกหรือสำหรับที่ทาดาดฟ้าโดยตรง ลองไปหาดูครับ เช่นเดียวกันกับพื้นห้องน้ำต้องทาเลยมาที่ผนังเหมือนกัน เพราะส่วนใหญ่น้ำจะซึมตรงรอยต่อระหว่างพื้นและผนังครับ

    ข้อควรระวัง ผิวพื้นที่จะทำงานจะต้องไม่มีคราบฝุ่น คราบตะไคร่น้ำหรือคราบน้ำมัน ไม่งั้นทาไปก้อไม่มีประโยชน์

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

งานวางแผ่นพื้นสำเร็จรูป

     พ้นจากงานใต้ดินมาแล้ว คราวนี้มาถึงงานพื้นชั้น 1 กันแล้ว จะขอพูดถึงบ้านที่ใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปหน่อย ถามว่าทำไมต้องใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป ก็ต้องบอกว่าประหยัดเวลาในการทำงาน ถ้าเราเทพื้นปูนปกติ ก็จะต้องเทลีนคอนกรีต ผูกหล็กเสริมเสียเวลา เราจะเทปูนหล่อในที่ก็ต่อเมื่อเป็นพื้นห้องน้ำ พื้นระเบียง ที่ต้องการไม่ให้เกิดการรั่วซึม

รูปงานวางแผ่นสำเร็จรูปพร้อมปู wire mesh
     ขั้นตอนของงานแผ่นพื้นสำเร็จรูป พอเทคานได้ซัก 3 วัน ก้อเอาแผ่นพื้นสำเร็จรูปมาวางเรียงกัน อ้อต้องเช็คระดับหลังคานที่เทไปว่าได้ระดับรึป่าว ไม่งั้นแผ่นพื้นสำเร็จรูปก้อจะเอียงๆ ก่อนวางแผ่นก็ต้องเช็คดูว่ามีรอยแตกด้วย ถ้ามีก็เปลี่ยน ไม่เอามาใช้ ต่อไปการวางแผ่นก็ต้องมีระยะที่วางบนคานอย่างน้อย 5 ซม. และต้องเชื่อมรอยต่อระหว่างแผ่นโดยเอาเหล็ก 9 มม. มาเชื่อมต่อตรงหูหิ้วของทุกๆ แ่ผ่น(ดูรูปประกอบ) เสร็จแล้วก้อเอาเหล็ก Wire mesh ขนาดตามแบบมาวางโดยให้มีระยะทับซ้อนซัก 30 ซม. 
รูประยะวางทับคานและเหล็กเสียบคานที่ต้องฝากไว้


     ข้อสำคัญตอนเทคานนั้นต้องเสียบเหล็กโผล่เอาไว้ทุกๆ 20 ซม. เวลาวางแผ่นพื้นสำเร็จรูป จะได้พับเหล็กที่เสียบไว้สลับซ้าย-ขวา เพื่อเพิ่มความยึดเกาะ จากนั้นก้อทำระดับที่จะเทปูนแล้ว ก้อโหลดปูนมาเทเลยพี่น้องงงงงง





วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บริษัทกำจัดปลวก

     บ้านที่เราสร้างเองหรือแม้กระทั่งซื้อสำเร็จ คงไม่อยากให้มีปัญหากวนใจ โดยเฉพาะเรื่องปลวก(แดก)

     ก็ต้องว่ากันตั้งแต่ช่วงงานก่อสร้างในขั้นเทคานชั้น 1 แล้วเสร็จ บางบ้านเทพื้นปูนทั้งหมด บางบ้านใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปวางบนคานแล้วค่อยเทปูนทับหน้าก็ว่ากันไป แต่ก่อนที่จะปิดพื้นดินใต้บ้านนั้น จะต้องทำระบบป้องกันปลวกก่อน สมัยก่อนนั้นก็แค่ฉีดเชลล์ไดรท์แล้วก็ลืมกันไป ได้แต่ภาวนาอย่าให้ปลวกกิน สมัยนี้นิยมทำระบบป้องกันปลวกแบบระบบท่อ คือสามารถกลับมาอัดน้ำยากันปลวกได้อีกทุกๆ 6 เดือนหรือแล้วแต่ละมาตรฐานแต่ละบริษัท 

ภาพงานเดินท่อน้ำยารอบคานชั้น 1 

     วิธีการก็คือเดินท่อน้ำยารอบคานภายในระหว่างพื้นแต่ละช่องๆ ให้หมดทั้งชั้น 1 ไม่เว้นแม้กระทั้งห้องน้ำ บางเจ้าจะไม่เดินท่อในห้องน้ำ ขอเน้นว่าต้องทุกพื้นที่ เพราะมันมาจากดินข้างล่าง โดยต้องเดินท่อสูงขึ้นมาประมาณใต้ท้องพื้นเพราะเวลาอัดฉีดน้ำยาจะได้กระจายได้พื้นที่กว้าง ครอบคลุมหมด (ดูภาพประกอบ) และเมื่อเดินท่อเสร็จเค้าจะพ่นน้ำยา 1 รอบ จากนั้นเราก็เทพื้น สร้างบ้านต่อจนเสร็จ บริษัทก็จะเข้ามาอัดฉีดน้ำยาอีก 1 รอบ พร้อมกับพ่นน้ำยารอบๆ ตัวบ้านด้วย หลังจากนั้นจะมาอัดฉีด ทุกๆ 3 หรือ 6 เดือน ต้องไม่ลืมขอใบรับประกันจากบริษัทกำจัดปลวกด้วย

     แถม Tips เล็กน้อย ข้อแรกแบบไม้ที่ใช้หล่อคานชั้น 1 จะต้องเอาออกให้หมด เพราะเป็นตัวล่อปลวก ข้อ 2 ไม่จำเป็นจะต้องถมดินสูงจนถึงท้องพื้น เอาแค่ทำคันดินเป็น Support รับพื้นสำเร็จรูปก็พอ เวลาอัดน้ำยาจะได้กระจายเต็มพื้นที่ ข้อ 3 ช่างบางที่มักจะเอาไม้หน้าสามทำตงรับแผ่นพื้น อันนี้ก็ล่อปลวกเช่นกัน 

     ก็ขอให้มีความสุขกับบ้านของคุณครับ




วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฐานรากบ้าน ฐานรากชีวิต

     ในชีวิตนึงคุณจะมีบ้านเป็นของตัวเองซักกี่หลัง คนธรรมดาอย่างเราๆ จะมีบ้านซักหลังก็เต็มกลืนแล้ว ยิ่งสร้างบ้านเอง ไม่ใช่ไปซื้อสำเร็จ ก็ต้องใส่ใจในคุณภาพซักนี้ด
     ถ้าเสาเข็มสำคัญเป็นอันดับหนึ่งละก้อ รองลงมาก็ต้องฐานรากบ้านนี้แหละ เวลาขุดดินจะทำฐานราก ก็ต้องมาเช็คว่าเข็มที่ตอกไปได้ตรงตำแหน่งที่ระบุรึป่าว ถ้าไม่ ก็ต้องมีการปรับแก้แนวบ้านใหม่ อันนี้คนทั่วไปมักจะไม่รู้ พอไม่รู้ก้อเลยไม่ได้เช็ค เอาง่ายๆ ถ้าเช็คแนวบ้านทั้งแกน x และ y แล้วพบว่ามีระยะเยื้องออกจากตำแหน่งไม่เกิน 1/6 ของขนาดเข็ม (ถ้าเสาเข็ม ขนาด 22 ซม. หาร 6 ก้อเยื้องได้ 3.67 ซม.) ถ้าเกินก็ต้องมาปรับแก้จะย้ายแนวหรือขยายฐานรากก็ต้องวิดวะเค้าดูให้

ตัดหัวเข็มให้ได้ระดับแล้วเช็คค่าเยื้องศูนย์ของเข็ม
ป้ายทีติดมากับมัดเหล็กเส้น
     จากนั้นก็ผูกเหล็กเข้าแบบเทปูน การเข้าแบบก็ต้องใช้แบบเหล็ก ถ้าแบบไม้ก้อโอ แต่ต้องรดน้ำที่แบบก่อนเทเอาให้ชุ่ม ไม่งั้นแบบไม้จะไปดูดน้ำปูนหมด เสร็จเลยฐานรากเป็นปลวกกินแน่ และหเามเลยคือขุดหลุมเอาดินเป็นแบบหรือใช้อิฐก่อเป็นแบบเหตุผลเดียวกับแบบไม้ เหล็กเสริมก็ต้องเช็คดูว่าเป็นเหล็กเต็มรึป่าว(บางทีไปเอาเหล็กเกรดบี หรือเหล็กโรงเล็กที่น้ำหนักไม่เต็มมาใช้เพื่อประหยัด) เน้นว่าใช้เหล็กโรงใหญ่มี มอก. ดีกว่า จากนั้นก็เช็คขนาดและจำนวนเหล็กเสริมว่าครบตามแบบรึป่าว เสร็จแว้วก็เทปูนกันเลย

     ขอเน้นว่าใช้ปูนมิกซ์จากโรงงานดีกว่าผสมมือครับ เดี๋ยวนี้สบายมีรถโฒ่เล็ก 2 - 3 คิว ก็สั่งกันได้ พอปูนมาก้อเช็คว่าตรงตามสเปคมะ ถ้าโอก้อเทปูนได้เรยย ระหว่างเทปูนก้อต้องคอยใช้เครื่องจี้คอนกรีตเป็นระยะๆ เพื่อให้ปูนแน่น ถ้าไม่จี้ปริมาณปูนที่อาจจะใช้ต่างกันเกือบ 20 % เลยทีเดียว (ผู้รับเหมาประหยัดค่าปูน) เทปูนเสร็จทิ้งไว้ซัก 2 วันค่อยแกะแบบออก  อ้อ ! อย่าลืมบ่มปูนด้วยการราดน้ำที่ฐานรากด้วยนะ ปูนจะได้เข้มแข็ง

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทาสีหน้าฝน

     วันนี้ขอข้ามชอตหน่อย มาเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพอากาศปัจจุบันกันหน่อย นั้นก็คือเรื่องทาสี ซึ่งมีปัญหาเสมอในช่วงหน้าฝน

     ว่ากันตั้งแต่เรื่องเตรียมผิวกันเลย หนึ่งคือต้องไม่มีฝุ่น สองไม่ชื้น เพราะทาไปสีก้อร่อน อย่าทาดีกว่าเสียตัง 2 เที่ยวแถมเสีย'รม อีก จากนั้นมาทาสีรองพื้นกันถ้าผิวดีไม่มีฝุ่น ไม่ชื้น แดดออกซัก 2 - 3 วัน ก้อรีบเลยทาสีรองพื้นไว้ก่อน เพราะถ้าฝนตกลงมาอีกก้อต้องรอแห้งอีก และอีกอย่างถ้าเราทาสีรองพื้นไปแล้วมันจะช่วยกันไม่ให้ผนังอิฐเราชื้นมากเพราะไปเคลือบเอาไว้ชั้นนึงแล้ว อ้อแล้วอีกอย่างสีมีหลายเกรด จะนาโน เช็ดกันกี่ครั้ง จะยูวี อะไรก็ตามแต่ ถ้าคุณเลือสีรองพื้นห่วยก็จบ ต่อให้สีทับหน้าดีแค่ไหนก็จบข่าวครับ ทางที่ดีเลือกสีรองพื้นยี่ห้อเดียวกันนั่นแหละ จะได้ไม่ต้องมาบอกว่า " รู้งี้ " ทีหลัง


  แล้วถ้าผนังบริเวณนั้นต้องโดนความชื้นบ่อยหรือฝนสาดหรือไม่ค่อยโดนแดด อับชื้น โดยเฉพาะผนังภายนอกรอบตัวบ้านที่ฝนมักจะกระเด็นมาโดนบ้าน ก็ลงทุนซื้อสีรองพื้นกันเชื้อรา ตะไคร่น้ำ ทาสูงขึ้นมาจากพื้นดินซัก 60 - 100 ซม. จะช่วยให้สีไม่ลอกร่อน เพราะเจอฝนเดียวก้อร่อนแล้ว

สีบวมพองและสีลอกร่อน
     
     แถมเคล็ดอีกนิดประตูไม้ภายนอกที่ต้องเจอกะฝนลแะลมอยู่บ่อยๆ จะต้องทาสีรองพื้นที่สันบานประตูทั้ง 4 ด้านนะเพราะส่วนใหญ่จะทากันแค่ 3 ด้าน แล้วเจอลมฝนเข้าไปซักแป๊ป บานประตูก็จะอวดเบ่งกะเรา คราวนี้ก้อไม่ต้องใช้ประตูกันละครับพี่น้อง


วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กรณีไหนบ้านเราถึงต้องใช้เสาเข็มเจาะ

      ต่อเนื่องจากบทก่อนที่ค้างไว้ว่าจะพูดเรื่องเสาเข็มเจาะต่อ คำถามก็คือ กรณีไหนบ้านเราถึงต้องใช้เสาเข็มเจาะกัน ( เพราะค่่าใช้จ่ายมากกว่าเป็นเท่าตัว)
     คำตอบก็คือ ถ้าที่ดินบ้านเรามีเพื่อนบ้านโดยรอบหมด คือมีบ้านรอบๆ ละก้อ สมควรที่จะต้องใช้เสาเข็มเจาะ เพราะถ้าใช้วิธีตอก ผนังบ้านข้างคงแตกร้าว หนักๆ หน่อยอาจะมีทรุดเอียงเนื่องเวลาตอกจะกระเทือนรุนแรงมาก ซึ่งจะต้องเสียตังค่าซ่อมอีกเยอะ เดี๋ยวจะมองหน้ากันไม่ติดตั้งแต่ยังไม่ย้ายมาอยู่
     อีกกรณีนึงที่ต้องใช้คือถ้าบ้านใหญ่โต รับน้ำหนักเยอะ หรือชั้นดินแข็งอยู่ลึกมากๆ (เกิน 30 ม.) อันนี้ก้อต้องใช้เพราะเข็มตอกที่ความยาวมากขึ้นก้อต้องต่อหลายท่อน เนื่องจากข้อจำกัดเวลาขนส่ง และอีกอย่างส่วนใหญ่ต่อกันแค่ 2 ท่อนก็เสี่ยงแล้วถ้าเกิดต้องต่อ 3 ท่อนยิ่งมีโอกาสที่เข็มจะหักกลางหรือเอียงเวลาตอก

รูปสามเกลอที่ใช้ในการทำเสาเข็มเจาะ
     ขั้นตอนงานตรวจสอบเสาเข็มส่วนใหญ่ ควรที่จะให้มีวิศวกรดูแลหน้างานครับเพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่หลักๆ ก็มี 2 - 3 อย่างคือ ความลึกที่ขุดดินถึงชั้นทรายหรือไม่ ระยะห่างหลุมเจาะข้างๆ ต้องห่างกันเพราะจะทำให้หลุมที่เพิ่งเทปูนไปพัง ปริมาณปูนที่ใช้ถ้าดกิดใช้มากกว่าที่คิดไว้หลุมที่ขุดอาจจะพัง ซึ่งฟังดูแล้วปวดหัวเลยสำหรับคนธรรมดาที่ไม่รู้เรื่องงานก่อสร้าง เพราะฉะนั้นอย่าเสียน้อยเสียยากครับ ลงทุนจ้างวิศวกรที่ไว้ใจได้ มาช่วยดูนึดนึง
เครื่องทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม

     หลังจากเจาะเสาเข็มเสร็จทิ้งไว้ซักเดือนนึงก็เริ่มขุดดินทำฐานรากได้ คราวนี้ก็ต้องเสียตังเพิ่มอีกนิดเพื่อความสบายใจต้องเช็คดูอีกทีว่าเสาเข็มเจาะสมบูรณ์หรือไม่ ปูนเทเต็มมะ ตรงไหนจะมีปัญหา ต้องทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ( Siesmic test ) อย่างที่เห็นในรูปข้างบน เค้าใช้วิธีการเดินทางของเสียงมาเช็ค โดยเคาะที่หัวเสาเข็มแล้วฟังเสียงสะท้อน หลักการคือถ้าความหนาแน่นสม่ำเสมอ คลื่นเสียงก็จะเป็นรูปปกติ แต่ถ้าเข็มเทไม่เต็มกราฟคลื่นเสียงก็จะผิดรูปไป อัันนี้บริษัทที่มาทดสอบเค้าไม่มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะรายงานตามความเป็นจริง ถ้าเข็มมีปัญหาก็ต้องเจาะเพิ่ม ขยายขนาดฐานรากก็ว่ากันไป

     ค่าทดสอบส่วนใหญ่ขึ้นกับจำนวน ถ้าไม่มากก็ต้นละ 200 - 300 บาทกี่ต้นก้อคูณไป ต้องยอมครับถ้ามีปัญหาแก้ก่อนดีกว่าสร้างเสร็จแล้วบ้านทรุดละก้อจะมาพูดว่า " รู้งี้ยอมเสียตังเพิ่มดีฝ่า "

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บ้านในฝัน



     สวัสดีครับพี่น้อง วันนี้มาในรูปแบบใหม่บล็อกนี้จะพูดคุยกันในเรื่องงานก่อสร้างโดยอาจจะเน้นเรื่องบ้านเป็นพิเศษเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวของเราทุกคน มีปัญหาเรื่องแสดงความคิดเห็นกันเข้ามาได้ครับ

     วันนี้ก็จะเริ่มกันที่ใต้ดินก่อนเลยครับ สำคัญที่สุดและมักจะถูกละเลยมากที่สุด ด้วยเพราะอาจจะไม่มีความรู้เรื่องงานก่อสร้างอะไรก็แล้วแต่ บ้านจะอยู่กับเรานานแค่ไหนโดยไม่พังหรือทรุด เอียง ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้แหละ


เสาเข็มชนิดต่างๆ

     หลังจากได้แบบบ้าน ได้ผู้รับเหมาแล้ว ก็มาดูเรื่องแบบก่อสร้างว่าระบุเสาเข็มบ้านขนาดและความยาวเท่าไหร่ ระดับตัดหัวเสาเข็ม
     มาถึงก็ต้องวางผังเสาเข็มให้ตรงตามแบบบ้านซะก่อน โดยเน้นเรื่องระยะร่นของบ้านส่วนใหญ่ก็ 2 ม. ถ้าที่อยู่ริมคลองก็ต้องร่นเข้ามา 6 ม. ต่อมางานตอกเสาเข็มสำคัญจริงๆ นะ เสาเข็มเข้าก็ต้องเช็คว่ามีรอยแตก ถ้ามีก็ต้องไม่รับ การวางกองเก็บก็ต้องวางให้ถูกวิธีไม่งั้นก็เข็มแตกอีก อ้อแล้วก็ต้องดูวันที่หล่อเสาเข็มด้วยอย่างน้อยเสาเข็มต้องมีอายุ 7 วันถึงจะตอกได้ ถ้ามาส่งเสาเข็มเห็นสีออกเขียวๆ ละก้อ ต้องรออีกซัก 2 - 3 วันค่อยเอามาตอก(บางที่โกงอายุปั๊มวันที่หลอกก็มี) ต่อมาการตอก เอากันตั้งแต่ลากเข็มจากจุดที่กองก็ต้องดูว่าลากเข็มมาแล้วเสียหายแตกตรงไหนรึเปล่า เช็คแนวที่วางหมุดเสาเข็มให้ตรง แล้วก็เริ่มตอก โดยส่วนมากโรงงานเสาเข็มจะมีรายการคำนวณมาให้ดู ไม่ต้องกังวลดูแค่ 2 อย่างคือ จำนวน Blow count และความยาวเสาเข็มที่ตอกลงไป เสาเข็มทุกต้นจะต้องมีรายงานจากผู้ควบคุมงาน
 
ขนาด ความยาว และวันที่ผลิตเสาเข็ม

     ถ้าเสาเข็มต้องต่อสองท่อนก็ต้องเช็คแผ่นเหล็กที่ปลายเสาเข็มว่าติดตั้งแน่นหนาดีรึเปล่า จากนั้นตอนเชื่อมแผ่นเหล็กก็ต้องเชื่อมตลอดโดยรอบเสาเข็ม(ห้ามเชื่อมเป็นจุดๆ)
เสาเข็มต่อต้องเชื่อมแผ่นเหล็กโดยรอบ
     พอตอกใกล้เสร็จก็จะต้องดู Blow count ตามที่บอกไว้ คือระยะ 30 ซม.สุดท้ายที่ตอกจะต้องตอกได้กี่ครั้ง หากไม่ได้ก็ต้องตอกต่อไปจนกว่าจะได้ หากไม่ได้แสดงว่าเข็มยังยาวไม่พอจนถึงชั้นดินแข็ง ก็ต้องเลือกเอาว่าจะเอาความยาวหรือจะเอา Blow count (แต่แนะนำว่าเอา Blow ดีกว่า เสียตังเพิ่มความยาวเข็มอีกไม่กี่บาทแต่บ้านไม่ค่อยทรุด) พอได้ก็ย้ายแนวไปตอกต้นอื่นต่อ

     สำหรับงานเสาเข็มเจาะจะขอยกยอดไปครั้งหน้าละกัน เม้นท์กันมาได้

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More